วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552


การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ









แบบจำลองของแฟตแมน หลังสงคราม




แบบจำลองระเบิดลิตเติลบอยหลังจากระเบิดจริงถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา







เมฆรูปดอกเห็ดเหนือเมืองฮิโรชิมาหลังการทิ้งระเบิด "ลิตเติลบอย"





ลิตเติลบอย (ภาษาอังกฤษ: Little Boy) เป็นชื่อรหัสของระเบิดปรมาณู ที่ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองฮิโรชิมา ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress (เครื่องบินลำนี้มีชื่อ Enola Gay) ผู้ทำหน้าที่นักบินคือ นายพันโทพอล ทิบเบตส์ (Paul Tibbets) แห่งกองกำลังอากาศในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา (ภายหลังได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองทัพอากาศ) นับเป็นระเบิดปรมาณูลูกแรก ที่ใช้ในการสงคราม ส่วนระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ซึ่งมีชื่อว่า แฟตแมน นั้น ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นในอีก 3 วันต่อมา
อาวุธนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างจัดตั้งโครงการแมนฮัตตัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้กำลังระเบิดมาจากธาตุยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการแยกไอโซโทปแล้ว (enriched uranium) การทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการระเบิดปรมาณูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ (ครั้งแรก เป็นการทดลองเรียกว่า ทดลองทรีนิตี้ (Trinity test)) ระเบิดลิตเติลบอย มีความยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 71 เซนติเมตร และน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม บรรจุธาตุยูเรเนียมประมาณ 64 กิโลกรัม แต่ส่วนที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันมีน้ำหนักเพียง 700 กรัมเท่านั้น

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ (อังกฤษ: The atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki) เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮรี่ เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม






เมฆรูปดอกเห็ดที่ลอยตัวสูงถึง 18 กิโลเมตรเหนือจุดระเบิดของ "ชายอ้วน"
หรือ "แฟทแมน" ลูกที่สองที่ระเบิดกลางอากาศเหนือเมืองนะงะซะกิ

การระเบิดทำให้มีคนตายที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโรชิมาและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกา กับอังกฤษและแคนนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่ออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ โรเบิร์ต, ระเบิดปรณูที่ใช้ถล่มเมือง ฮิโรชิมา ของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติ้ลบอย" นั้น ได้ใช้ ยูเรเนี่ยม -235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้ ,นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ,ส่วนระเบิดที่ใช้ถล่ม นางาซากิ นั้นใช้ พลูโตเนี่ยม -239

[แก้] การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิด
ในวันที่ 10 -11 พฤษภาคม 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกซ์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,ฮิโรชิมา ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมค์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด



ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโรชิมา ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้่านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโรชิมา 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน

[แก้] ผู้รอดชีวิตชาวเกาหลี
ในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมา และนางาซากิ. ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมือง ฮิโรชิมา ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด , ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชาวเกาหลีพยายามต้อสู้เพื่อรับการดูแลรักษา ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ ,อย่างไรก็ตามทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน.
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฎไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชเพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปีว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำปีมะโรง จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในพระราชอาณาจักรสยาม ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) 11 องศา 38 ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) 29 องศา 39 ลิปดาทิศตะวันออก โดยคราสเริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา 4 นาที จับเต็มดวง เวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที กินเวลานาน 6 นาที 45 วินาที คลายคราสออกเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 45 วินาที ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตกมาก่อนหน้านี้


ในระหว่างนั้นประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็เฝ้ารอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ แล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตามที่พระองค์ทรงคำนวณ โดยไม่คลาดเคลื่อน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศระบือไกล บรรดาแขกต่างประเทศจำนวนมากได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีไม่แพ้ชาติใด ทั้งๆที่ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พระเกียรติคุณในด้านวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและปรากฎเด่นชัดแก่บรรดานักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก แต่ประชาชนชาวไทยก็ต้องประสบกับความสญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพได้เพียง 5 วัน ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้มาเลเรีย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2411 นั่นเอง

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 ปัจจุบันสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
ที่มาhttp://www.waghor.go.th/v1/aboutus/aboutus.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น