วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552


การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ









แบบจำลองของแฟตแมน หลังสงคราม




แบบจำลองระเบิดลิตเติลบอยหลังจากระเบิดจริงถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา







เมฆรูปดอกเห็ดเหนือเมืองฮิโรชิมาหลังการทิ้งระเบิด "ลิตเติลบอย"





ลิตเติลบอย (ภาษาอังกฤษ: Little Boy) เป็นชื่อรหัสของระเบิดปรมาณู ที่ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองฮิโรชิมา ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress (เครื่องบินลำนี้มีชื่อ Enola Gay) ผู้ทำหน้าที่นักบินคือ นายพันโทพอล ทิบเบตส์ (Paul Tibbets) แห่งกองกำลังอากาศในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา (ภายหลังได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองทัพอากาศ) นับเป็นระเบิดปรมาณูลูกแรก ที่ใช้ในการสงคราม ส่วนระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ซึ่งมีชื่อว่า แฟตแมน นั้น ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นในอีก 3 วันต่อมา
อาวุธนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างจัดตั้งโครงการแมนฮัตตัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้กำลังระเบิดมาจากธาตุยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการแยกไอโซโทปแล้ว (enriched uranium) การทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการระเบิดปรมาณูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ (ครั้งแรก เป็นการทดลองเรียกว่า ทดลองทรีนิตี้ (Trinity test)) ระเบิดลิตเติลบอย มีความยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 71 เซนติเมตร และน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม บรรจุธาตุยูเรเนียมประมาณ 64 กิโลกรัม แต่ส่วนที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันมีน้ำหนักเพียง 700 กรัมเท่านั้น

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ (อังกฤษ: The atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki) เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮรี่ เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม






เมฆรูปดอกเห็ดที่ลอยตัวสูงถึง 18 กิโลเมตรเหนือจุดระเบิดของ "ชายอ้วน"
หรือ "แฟทแมน" ลูกที่สองที่ระเบิดกลางอากาศเหนือเมืองนะงะซะกิ

การระเบิดทำให้มีคนตายที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโรชิมาและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกา กับอังกฤษและแคนนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่ออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ โรเบิร์ต, ระเบิดปรณูที่ใช้ถล่มเมือง ฮิโรชิมา ของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติ้ลบอย" นั้น ได้ใช้ ยูเรเนี่ยม -235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้ ,นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ,ส่วนระเบิดที่ใช้ถล่ม นางาซากิ นั้นใช้ พลูโตเนี่ยม -239

[แก้] การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิด
ในวันที่ 10 -11 พฤษภาคม 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกซ์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,ฮิโรชิมา ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมค์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด



ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโรชิมา ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้่านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโรชิมา 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน

[แก้] ผู้รอดชีวิตชาวเกาหลี
ในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมา และนางาซากิ. ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมือง ฮิโรชิมา ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด , ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชาวเกาหลีพยายามต้อสู้เพื่อรับการดูแลรักษา ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ ,อย่างไรก็ตามทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน.
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฎไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชเพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปีว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำปีมะโรง จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในพระราชอาณาจักรสยาม ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) 11 องศา 38 ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) 29 องศา 39 ลิปดาทิศตะวันออก โดยคราสเริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา 4 นาที จับเต็มดวง เวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที กินเวลานาน 6 นาที 45 วินาที คลายคราสออกเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 45 วินาที ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตกมาก่อนหน้านี้


ในระหว่างนั้นประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็เฝ้ารอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ แล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตามที่พระองค์ทรงคำนวณ โดยไม่คลาดเคลื่อน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศระบือไกล บรรดาแขกต่างประเทศจำนวนมากได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีไม่แพ้ชาติใด ทั้งๆที่ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พระเกียรติคุณในด้านวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและปรากฎเด่นชัดแก่บรรดานักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก แต่ประชาชนชาวไทยก็ต้องประสบกับความสญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพได้เพียง 5 วัน ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้มาเลเรีย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2411 นั่นเอง

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 ปัจจุบันสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
ที่มาhttp://www.waghor.go.th/v1/aboutus/aboutus.html

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552


ที่มา www.il.mahidol.ac.th/.../reduction_potential.htmสารละลาย สารคอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอยเมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจจะได้เป็นสารเนื้อเดียว หรือสารเนื้อผสมก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่จะนำมาผสมกันว่าจะรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้หรือไม่ สำหรับสารที่รวมกันเป็นเนื้อเดียว ภายในสารผสมนั้น อนุภาคของสารหนึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคของอีกสารหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ จนการสังเกตด้วยตาเปล่าอย่างเดียวจะบอกความแตกต่างของสารผสมเนื้อเดียวเหล่านั้นไม่ได้ สารเหล่านั้นอาจจะเป็นสารละลาย คอลลอยด์ หรือสารแขวนลอย ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน แต่มีขนาดของอนุภาคที่แตกต่างกัน1. สมบัติบางประการของสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยสารละลาย หรือ สารละลายแท้ (Ture solution) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร (หรือ 0.001 ไมโครเมตรหรือ 10 อังสตรอม) เช่นสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต, สารละลายกรดไนตริก , สารละลายกรดซัลฟูริก , สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง ) เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) มาจากภาษากรีก Kolla + Eidos ซึ่งหมายถึงสารที่มีลักษณะคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ เป็นต้นคอลลอยด์ (Colloid) หมายถึง สารผสมเนื้อเดียวที่มีอนุภาคของตัวถูกละลาย หรืออนุภาคของสารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรสารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารผสม ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4 เซนติเมตร (หรือ 1 ไมโครเมตร) กระจายอยู่ ถ้าอนุภาคที่อยู่ในสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่มากจะมองเห็นส่วนผสมได้ชัดเจน ซึ่งเมื่อวางทิ้งไว้อนุภาคของสารแขวนลอยจะตกตะกอนออกมา แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กจะกระจายแบบกลมกลืนจนดูเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งทำให้แยกออกได้ยากกว่าเป็นสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ดังนั้นสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยจึงแบ่งได้โดยอาศัยขนาดของอนุภาคเป็นเกณฑ์ ซึ่งขนาดของสารแขวนลอย > คอลลอยด์ > สารละลาย2.การกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนถึงแม้ว่าสารแขวนลอยมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่บางครั้งก็ดูกลมกลืนจนตัดสินด้วยตาเปล่าไม่ได้ ในทางปฏิบัติจึงใช้วิธีตรวจสอบขนาดของอนุภาคโดยใช้กระดาษกรองและเซลโลเฟนกระดาษกรอง จะกรองอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-4 เซนติเมตรขึ้นไปเซลโลเฟน จะกรองอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10-7 เซนติเมตรขึ้นไปก. สารละลาย จะกรองผ่านได้ทั้งกระดาษกรอง และเซลโลเฟน เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10-7 เซนติเมตรข. คอลลอยด์ จะกรองผ่านกระดาษกรองได้ แต่กรองผ่านเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-7 เซนติเมตร(จึงผ่านเซลโลเฟนไม่ได้) และเล็กกว่า 10-4 เซนติเมตร(จึงผ่านกระดาษกรองได้) นั่นคือมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 10-7 - 10-4 เซนติเมตรค. สารแขวนลอย จะกรองผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนไม่ได้ เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตรที่มา
เขียนโดย เจนจิรา ทองดี
0 ความคิดเห็น

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานอยู่คู่กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและแผ่นดินไทยตลอดไปควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะฯข้าพระพุทธเจ้าในนามชาวคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต. 2
เขียนโดย เจนจิรา ทองดี
0 ความคิดเห็น

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

จอมพล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี(บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"การศึกษาพระราชวงศ์ไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีคุณพลอยไพลิน เจนเซนคุณพุ่ม เจนเซนคุณสิริกิติยา เจนเซนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรท่านผู้หญิง ทัศนาวลัย ศรสงครามพ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ทรงมีอายุได้ 4 ชันษา ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วยพ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ[1] หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส[1]ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น[แก้] อภิเษกสมรสวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมีสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จเป็นองค์ประธาน ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย[2][3]ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี[4] หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495[แก้] สมเด็จพระบรมราชินีนาถเมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภาระกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช[5]ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภาระกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"[6] นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ของประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง)[แก้] พระราชโอรส-ธิดาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) เพื่อทรงสมรสกับ นายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), นางสาวยุวธิดา ผลประเสริฐ (หรือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันคือ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์) และ นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา (หรือ หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) ทรงมีพระโอรส 1 พระองค์ กับ 4 องค์ และ พระธิดา 2 พระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมา ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ประจำปี พ.ศ. 2520สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (ในขณะนั้น มียศเรืออากาศโท) ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์[แก้] พระราชกรณียกิจสังเขปสมเด็จพระนางเจ้าฯ ครั้งเสด็จไปสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2505สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบทห่างไกล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วทุกหนแห่งในแผ่นดินไทยนี้โครงการที่มีสาขาขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศโครงการหนึ่งก็คือ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งในภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเมื่อ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อันเป็นการส่งเสริมอาชีพและขณะเดียวกันยังอนุรักษ์และส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้านที่มีความงดงามหลายสาขา เช่น การปั้น การทอ การจักสาน เป็นต้นนอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ยังทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการด้านสาธารณสุข โดยได้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย และหากเสด็จฯเยือนต่างประเทศ ก็มักจะทรงถือโอกาสเสด็จฯทอดพระเนตรกิจการกาชาดของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทยอยู่เสมอในกิจทางด้านการทหารนั้น ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทรงให้ความสนพระทัยต่อการดำเนินงานของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ตลอดมา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวายรายงานถึงผลการปฏิบัติงานพร้อมกับรับพระราชเสาวนีย์ตลอดจนคำแนะนำไปดำเนินการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]นอกจากปวงชนชาวไทยแล้ว บรรดาเพื่อนบ้านที่ต้องลี้ภัยอพยพมายังแผ่นดินไทย ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับกาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพ และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ กิจการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนองค์กรระหว่างประเทศต่างพากันยกย่องและทูลเกล้าถวายรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ดังเช่นองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญซีเรส เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้นและทรงเป็นผู้ "ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง" (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522)มหาวิทยาลัยทัฟส์ จากมลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรมในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะการครองชีพของประชาชน และช่วยบรรเทาทุกข์ของเด็ก (พ.ศ. 2523)สหพันธ์พิทักษ์เด็ก แห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524)สถาบันเอเชียโซไซตี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม (14 มีนาคม พ.ศ. 2528)มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก สดุดีเทิดพระเกียรติ ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529)ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้ แต่เฉพาะ ผู้ที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลกเท่านั้น (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2531)ศูนย์ศึกษาการอพยพ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐนิวยอร์ก กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ไปทรงรับรางวัลความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยประจำปี ณ วอชิงตัน ดี.ซี. (29 มีนาคม พ.ศ. 2533)กลุ่มผู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์เด็กในสหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองโบโรพุทโธ ในฐานะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอนุรักษ์และพัฒนางานศิลปหัตถกรรม ณ ศาลาธรรม จังหวัดเชียงใหม่ (30 มกราคม พ.ศ. 2535)กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติคุณพิเศษในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 5 รอบ ในฐานะทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นผลให้แม่และเด็กนับล้านได้รับบริการขั้นพื้นฐาน (2 สิงหาคม พ.ศ. 2535)กองทุนพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแห่งความเป็นเลิศในฐานะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพัฒนาสตรีไทย (2 สิงหาคม พ.ศ. 2535)ในช่วง พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เมื่อเกิดความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียสมาชิกในครอบครัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังเอาพระราชหฤทัยใส่ พระราชทานความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ทั้งนี้ยังปรากฏอยู่เสมอ ๆ ว่าได้ทรงรับคนไข้ผู้ยากไร้ หรือผู้ทำคุณความดี ไว้เป็นคนไข้ในพระราชานุเคราะห์ เป็นที่ปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวไทยและแม้ชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง[แก้] พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บันทึก เรื่อง "ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ" เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นพระราชนิพนธ์ที่คนไทยควรจะได้อ่าน และตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในด้านอักษรของพระองค์ท่านอีกอย่างหนึ่งด้วยด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ปวงชนชาวไทยทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจึงได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์ท่าน และเป็นการสำนึกถึงคุณของแม่ไปพร้อมด้วย ด้วยนับถือกันทั่วไปว่า พระองค์เปรียบประดุจแม่ของปวงชนชาวไทยทั้งปวง เคียงข้างพ่อของชาวไทย นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสมอมา[แก้] เพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ เพื่อบรรเลงกับ วงดนตรีเดอะแฮนด์ซั่ม และวงดนตรีในพระองค์ ไว้ดังนี้ [7]เจ้าจอมขวัญทาสเธอสายหยุดนางแย้มสถานที่ พรรณพืช และพันธุ์สัตว์ อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธยสถานที่หลายแห่ง พรรณพืช และพันธุ์สัตว์หลายชนิดได้ตั้งชื่อตามพระนาม หรือสื่อถึงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสถานที่ศาสนสถานพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่พระพุทธสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล ประดิษฐานบนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่การแพทย์ และการสาธารณสุขโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[8] กรมแพทย์ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[9] มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นอาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์[10] คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีตึกสก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อาคารเฉลิมพระกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรารีสถาบันการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ 9 โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านการศึกษา ได้แก่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัยโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑลโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรีโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการสวนสาธารณะ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[11] อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ[12] ทางตะวันตกของสวนจตุจักร กรุงเทพมหานครสวนรมณีนาถ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร รัฐบาลสมัย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2535ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี[13] อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อื่น ๆเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนแม่น้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[14] ศูนย์การประชุมในกรุงเทพมหานครหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[15] กรุงเทพมหานครอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ(ภูมิปัญญาท้องถิ่นพนมสารคาม) โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอุดลวิทยา" อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราพรรณพืชกุหลาบควีนสิริกิติ์ (Rosa Queen Sirikit )ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ (Mussaenda philippica A.Rich. cv. Queen Sirikit)คัทลียาควีนสิริกิติ์ (Cattleya Queen Sirikit )มหาพรหมราชินี (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R. M. K.Saunders[16] [17])โมกราชินี (Wrightia sirikitiae D.J.Middleton & Santisuk[18])พันธุ์สัตว์ปูราชินี (Thaiphusa sirikit Naiyanetr, 1992)ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์_พระบรมราชินีนาถ
เขียนโดย เจนจิรา ทองดี0 ความคิดเห็น

1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้นข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน
เขียนโดย เจนจิรา ทองดี
0 ความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)



=njb
เด็กชาย จิรวัฒณ์ กิ่งแก้วเด็กชาย จีรศักดิ์ แก้วเทศเด็กชาย ธนวินท์ สายสุภาเด็กชาย นิธินันท์ เรือนมูลเด็กชาย ประวิทย์ ท้องธารเด็กชาย พงษ์สิทธิ์ สืบสวนเด็กชาย รัชชานนท์ พรหมมินทร์เด็กชาย วิฑูร เกิดผลเด็กหญิง กมลมาศ ดาวคะนองเด็กหญิง กิตติยา บัวกล้าเด็กหญิง คนิจดา นุมัติเด็กหญิง จริยา กำมะหยี่เด็กหญิง จันทิมา เที่ยงตรงเด็กหญิง จินดารัตน์ ขันติสิริโชคเด็กหญิง เจนจิรา ปัญญาเครือเด็กหญิง ชิดชนก ญาณปัญญาเด็กหญิง ณัฐฑริกา เรืองขำเด็กหญิง ดาราณี แก้วสอนเด็กหญิง ธันยพร ดอนแก้วเด็กหญิง ธาริณี ชื่นชอบเด็กหญิง ธีรนาท ชื่นชอบเด็กหญิง นันท์นภัส ธุรีเด็กหญิง นิทยา จีนสมุทร์ เด็กหญิง นิรมล พ้นพาลเด็กหญิง บุษราภรณ์ หอยศรีจันทร์เด็กหญิง ปฏิญญาพร เถื่อนประดิษฐเด็กหญิง เพชราภรณ์ สีพุทธาเด็กหญิง รวิสรา นิตราเด็กหญิง รัตนาวดี นิโคล ภู่สิงห์เด็กหญิง ลลิดา คล้ายสุบรรณเด็กหญิง วรรณภา บุกล่าเด็กหญิง วรัญญา เงาะหวานเด็กหญิง ศศิธร อมรมุณีพงศ์เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่นเด็กหญิง ศิริรัตน์ สืบบุญเด็กหญิง ศุทธินี ช่วยบุญเด็กหญิง สมัชญา งอนไปล่เด็กหญิง สุธินี ชะม้ายเด็กหญิง สุนันทา กอนวงศ์เด็กหญิง อรอนงค์ สุขสัจจี



หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
http://p.moohin.com/080.shtmlhttp://www.taradpra.com/prd/Store.asp?storeNo=2244&gallery=yhttp://adpra.blogspot.com/2008_03_01_archive.htmlThe Web Inquiry Based Learning Modulehttps://www.myfirstbrain.com/Default.aspxe-mailเพลงเพราะๆครับhttp://anchalit.multiply.com/photos/album/7/7



เจนจิรา ทองดี
ผมได้จัดทำเว็บบล็อคแห่งนี้ขึ้นเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดูหนังสือเตรียมตัวสอบ การสร้างแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การนำข้อมูลจัดทำ Microsoft PowerPoint การจัดทำงานแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รูปแบบ e-book เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ขอขอบพระคุณเว็บไซต์BLOGSPOT.COM ที่ให้พื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ฟรีทุกอย่าง ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆที่นำมาลงเป็นบทความครับ ประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ขอมอบให้ผู้อ่านทุกคน ขอเชิญติ ชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือข้อเสนอแนะได้ที่เว็บบอร์ดครับ
0816748929 jenmcl081@gmail.comดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

เพลงชาติไทยเพลงชาติไทย(ซาวด์)เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงสรรเสริญพระบารมี(ซาวด์)เพลงสดุดีมหาราชาเพลงสดุดีมหาราชา(ซาวด์)เพลงภูมิพลังแผ่นดินเพลงภูมิพลังแผ่นดิน(ซาวด์)เพลงมหาฤกษ์(ยาว)เพลงมหาฤกษ์(สั้น)เพลงมหาชัยกราวกีฬา

obj=new Object;obj.clockfile="yoshidasauce001-black.swf";obj.TimeZone="ICT";obj.width=140;obj.height=52;obj.wmode="transparent";showClock(obj);
ที่มา
http://www.clocklink.com/

รวม web กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศรวม web กลุ่มสาระ กอท.รวม web กลุ่มสาระศิลปะรวม web กลุุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษารวม web กลุ่มสาระสังคมฯ ศาสนารวมweb กลุ่มสาระคณิตศาตร์รวมweb กลุ่มสาระภาษาไทยรวมweb กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สาระน่ารู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาภาษาต่างประเทศสาระน่ารู้ เนื้อหากลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศภาษาไทยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกลุ่มสาระวิชาภาษาไทยสุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมศิลปศึกษาและดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษาและดนตรีการงานอาชีพและเทคโนโลยีกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[hk'fb
หลักสูตรสาขาฟิสิกส์กระบวนการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลสื่อและแหล่งเรียนรู้กิจกรรมฟิสิกส์เกร็ดความรู้เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสอพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพืมพ์ผู้จัดการ
หนังสือพิมพ์ข่าวสด
หนังสือพิมพ์มติชน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
หนังสือพิมพ์แนวหน้า
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โต๊ะข่าวภาคใต้สถาบันอิสรา
หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์
เดอะเนชั่น
ไทยโพสต์
กรุงเทพธุรกิจ
สยามกีฬา
กองฉลาก
กรมอุตุนิยมวิทยา
ทีวีช่อง3 ผังรายการ
TPBS ผังรายการ
ทีวีช่อง5 ผังรายการ
ทีวีช่อง7 ผังรายการ
ทีวีช่อง9 ผังรายการ
ทีวีช่อง11 ผังรายการ
ASTV ผังรายการ
INNNEWS
mcot news
CNN
worldnewsconnect.com
นสพ.คอม
student-weekly
Bankok post
New York Times
BECNEWS.COM
Xinhua news (English)
http://www.reuters.com/



สิทธิพร ทองธรรม 1/3
Backward Design
http://emotopzaa.blogspot.com/
skooolthai
กรมอุตุนิยมวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ข่าวสด
ครูจูดี้ โรงเรียนสุพีเรีย รัฐวิคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ครูฉลิต ฉายกี่ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูบ้านนอก
ครูประนอม ฉายกี่
ครูราตรี โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวันเพ็ญ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวีระศักดิ์
ครูไทย
ครูไทยแลนด์ดอทเน็ต
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
จิระวัฒน์ บุรี 1/3
ผอ.คณิตพันธ์
ผอ.เฟรด สหรัฐอเมริกา
พระอภัยมณี
พันธะเคมี
ฟิสิกส์นิวเคลียร์
มติชน
ระบบประสาท
ศูนย์...ไม่ศุนย์
สอบครูดอทเน็ต
สังข์ทอง
ห้อง 4/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
ห้อง 6/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
อ.จิระ งอกศิลป์
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
เดลี่นิวส์
โลกและดาราศาสตร์
ไทยรัฐ

คลังบทความของบล็อก
2009 (95)
สิงหาคม (5)
ที่มา www.il.mahidol.ac.th/.../reduction_potentia...
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน อยู่คู่กับพระบาท...
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู...
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ โครงสร้างอะตอม โครงสร...
กรกฎาคม (12)
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระ...
ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้...
1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้...
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร...
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นปรากฏ...
สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552 วรเชษฐ์ บุญปลอด เช้าว...
การถ่ายละอองเกสร การถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่...
ดอกไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืช
ส่วนประกอบของดอกไม้ ในดอกครบส่วน (completed flo...
การสืบพันธุ์ คือ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตในการสร้า...
วันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11...
วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘
มิถุนายน (10)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช ในดินมีน้ำอยู่บ...
ราก
การอบรม ICT ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา รร.สุโขท...
ไหว้ครู2552
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์เยื่อผ่าน คือ การลำเล...
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลà¹...
ออร์แกเนลล์ ที่มา http://images.google.co.th/img...
เซลล์พืช
พฤษภาคม (17)
ประวัติการค้นคว้าเรื่องเซลล์
เซลล์
ที่มา http://weerasak.net/image/JJ.gif การใ...
ที่มาhttp://techno.obec.go.th/content/PhysicNucle...
พระอภัยมณี
ที่มาhttp://jove.prohosting.com/namtarn/
lesa project
นักวิทยาศาสตร์ของโลก
ที่มา http://www.tmd.go.th/index.php
แนะนำ น่าอ่าน
ที่มา http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?o...
คู่มือการวัดผลวิทยาศาสตร์ วัดผลและประเมินผลวิทยาศา...
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E) กระบวนการสืบเส...
ลักษณะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะว...
ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ ...
จะเกิดวิกฤติโลกปี ค.ศ. 2030ผู้นำสูงสุดทางวิทยาศาสต...
อเมริกันตกงานหันไปเรียนออนไลน์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ...
เมษายน (9)
เยียวยา คศ.3 ทุกระดับ
มาเตรียมตัวก่อนเยียวยากันเถอะ(ตอนที่ 2 ตามหลักสูตร...
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาท...
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท) 25 เม.ย 2552 _ การจัดดอก...
บีบีซีชี้ชัดเสื้อแดงก่อจลาจลไม่ใช่ประชาธิปไตย
มีนาคม (4)
กุมภาพันธ์ (10)
มกราคม (28)
2008 (25)
ธันวาคม (13)
พฤศจิกายน (12)


ghaph
captivat
http://www.ipst.ac.th/science/

ภาพถ่ายดาวเทียม : พยากรณ์อากาศ
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น -1
ถ่ายภาพสินค้าแบบง่ายสไตล์ดิจิตัล
ไกด์ไลน์สำหรับการวางตำแหน่งในการถ่ายภาพ
ทดสอบการวางตำแหน่งภาพให้เป็นไปตามกฏ
ตัวอย่างภาพของกฏ Rule of Thirds
เรียนรู้การปรับกล้องก่อนใช้งานด้วยภาพจริง
ตำราการถ่ายภาพเบื้องต้น
อยากถ่ายรูปให้สวย+เข้าใจวิธีการถ่ายภาพให้ได้ดี มาอ่านที่นี่ครับ
พยากรณ์อากาศประเทศไทย
เทคนิคการถ่ายภาพ
ทดสอบเลนส์ CANON (EF-S 18-55 IS)
(บันทึก) การขี่จักรยานมาทำงานของ-เสือพุงขาว
BlogGang.com
ที่มา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chs&month=18-12-2008&group=31&gblog=14

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ
ฟิสิกส์ราชมงคล
ประวัตินักวิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ